วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การทำสมาธิเบื้องต้น

การทำสมาธิเบื้องต้น


หลักการทำสมาธิเบื้องต้น

จิตของคนทั่วๆ ไปที่ไม่เคยทำสมาธินั้น ก็มักจะมีสภาพเหมือนม้าป่าพยศที่ยังไม่เคยถูกจับมาฝึกให้เชื่อง มีการซัดส่ายไปในทิศทางต่างๆ อยู่เป็นประจำ การทำสมาธินั้นก็เหมือนการจับม้าป่านั้นมาล่ามเชือก หรือใส่ไว้ในคอกเล็กๆ ไม่ยอมให้มีอิสระตามความเคยชิน เมื่อตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ม้านั้นก็ย่อมจะแสดงอาการพยศออกมา มีอาการดิ้นรน กวัดแกว่ง ไม่สามารถอยู่อย่างนิ่งสงบได้ ถ้ายิ่งพยายามบังคับ ควบคุมมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดิ้นรนมากขึ้นเท่านั้น

การจะฝึกม้าป่าให้เชื่องโดยไม่เหนื่อยมากนั้นต้องใจเย็นๆ โดยเริ่มจากการใส่ไว้ในคอกใหญ่ๆ แล้วปล่อยให้เคยชินกับคอกขนาดนั้นก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ลดขนาดของคอกลงเรื่อยๆ ม้านั้นก็จะเชื่องขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่แสดงอาการพยศอย่างรุนแรงเหมือนการพยายามบีบบังคับอย่างรีบร้อน เมื่อม้าเชื่องมากพอแล้ว ก็จะสามารถใส่บังเหียนแล้วนำไปฝึกได้โดยง่าย

นิพพาน



นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่จิตมีความสงบสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ ไร้สุข เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
คำว่า "นิพพาน" มาจากภาษาบาลี Nibbāna निब्बान ประกอบด้วยศัพท์ นิ (ออกไป, หมดไป, ไม่มี) + วานะ (พัดไป, ร้อยรัด) รวมเข้าด้วยกันแปลว่า ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด คำว่า "วานะ" เป็นชื่อเรียก กิเลสตัณหา กล่าวโดยสรุป นิพพานคือการไม่มีกิเลสตัณหาที่จะร้อยรัดพัดกระพือให้กระวนกระวายใจ อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ในทางมหายานได้กล่าวไว้ใน ธรฺม-ธาตุ-ปรกฺฤตย-อวตาร-สูตฺร (入法界體性經) โดยอธิบายว่า ธรรมธาตุของนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิด ไม่ดับ ไม่สกปรก ไม่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อน ไม่แปรปรวน ไม่มีผู้ใดดับได้ จึงไม่มีผู้ใดเกิด

บุญ

บุญ


                บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น
คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข
ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้
การทำบุญควรทำด้วยทรัพย์ของตนเอง ถ้าขอหรือยืมใครมาทำบุญ บุญจะตกกับเจ้าของทรัพย์นั้นมากกว่า ถ้าไม่มีเงินเราสามารถทำบุญได้ด้วยการออกแรงกายและแรงใจช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน ย่อมได้บุญมากเช่นกัน

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การทำพระนิพพานให้แจ้ง

การทำพระนิพพานให้แจ้ง

สำหรับมงคลข้อที่ ๓๔ ได้แก่ การกระทำพระนิพพานให้แจ้ง


คำว่า" การทำพระนิพพานให้แจ้ง " นี้ หมายถึง ปัญญารู้แจ้ง ซึ่งนิพพาน อันเป็นตัดออกจากโคตรบุถุชน แล้วก้าวเข้าไปสู่โคตรอริยชน ซึ่งได้แก่ วิปัสสนาญาณ ที่ ๑๓ ซึ่งเรียกกันว่า โคตรภูญาณ ญาณนี่แหละ เป็นการที่ จิตใจของผู้ประพฤติปฏิบัติล่วงพ้น จากความเป็นบุถุชน เข้าสู่แดนอริยชน ในญาณ

นี้

ปัญญาญาณ

ปัญญาญาณ




๑ . ทางวิปัสสนา คือ การเห็นตามความเป็นจริง

ได้แก่ ทุกสรรพสิ่ง ล้วนไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ถาวร ทุกสิ่งล้วนแปรเปลี่ยนตลอดเวลา เกิดเพราะเหตุ ดับไปก็เพราะเหตุ

เมื่อรู้ได้ดังนี้ จิตที่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน ย่อมลดน้อยลงไป อุปทานการให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้นจากกิเลสที่มีอยู่ในจิตนั้นย่อมลดน้อยหรือเบาบางลงไป รู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิตมากขึ้น อยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้น

 สภาวะนี้วิปัสสนาจะนำหน้าสมถะ คือ พื้นฐานด้านสมาธิอาจจะน้อย หรือมีมากแต่ยังไม่รู้จักวิธีที่จะนำออกมาใช้ แต่ก็ต้องมีการปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์

สมาธิ

สมาธิ


สมาธิ (สันสกฤต : समाधि) คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน
การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้

อานิสงส์ของการรักษาศีล 5

อานิสงส์ของการรักษาศีล 5



         คำว่า ศีล ได้แก่สภาพเช่นไร ศีลอย่างแท้จริงเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษามีสภาพปกติไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นที่เกลียด นอกจากความปกติงดงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลว่าเป็นศีล เป็นธรรม  เราควรรักษาศีล 5

1.   สิ่งที่มีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงไม่ควรเบียดเบียน ข่มเหง และทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป

2.   สิ่งของของใคร ๆ ก็รักและสงวน ไม่ควรทำลาย ฉกลัก ปล้น จี้ เป็นต้นอันเป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกัน
3.   ลูก หลาน สามี ภรรยา ใคร ๆ ก็รักสงวนอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาให้ใครมาอาจเอื้อม ล่วงเกิน เป็นการทำลายจิตใจของผู้อื่นอย่างหนัก และเป็นบาปไม่มีประมาณ
4.   มุสา การโกหกพกลม เป็นสิ่งทำลายความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลงอย่างไม่มีดี แม้เดรัจฉานก็ไม่พอใจคำหลอกลวง จึงไม่ควรโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย
5.   สุรา ยาเสพติด เป็นของมึนเมาและให้โทษ ดื่มเข้าไปย่อมทำให้คนดี ๆ กลายเป็นคนบ้าได้ ลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการเป็นคนดีมีสติปกครองตัว อย่างมนุษย์จึงไม่ควรดื่มสุรา เครื่องทำลายสุขภาพทางร่างกายและใจอย่างยิ่ง เป็นการทำลายตัวเอง และผู้อื่นไปด้วยในขณะเดียวกัน

จะรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ได้อย่างไร

จะรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ได้อย่างไร




สำหรับบุคคลทั่วไปคำว่าการรักษาศีล 5 นั้น ดูเป็นเรื่องที่จะว่าง่ายก็ไม่ง่ายจะว่ายากก็ไม่ยาก  เทคนิคของการรักษาศีลนับเป็นอะไรที่ได้รับคำถามมากมายและเป็นเรื่องสนุกที่ต้องศึกษา กะแค่ข้อห้ามเพียง 5 ข้อ ทำไมหาได้น้อยคนที่จะตั้งใจทำ และถ้าทำได้แล้วจะมีผลดีต่อตัวเราอย่างไร เกี่ยวเนื่องอะไรกับกฏของธรรมชาติ ช่วงนี้แหละเป็นช่วงที่ดิฉันต้องตั้งใจพิจารณาให้ดี เพราะการได้เข้าไปศีกษาธรรมะใน ธรรมสถานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิ่งเดียวที่ท่านแม่ชีแนะนำก็คือเธอต้องรักษาศีล 5 ไปก่อน ให้เป็นกิจวัตรปกติในชีวิตประจำวันของตัวเองให้ได้ รักษาศีล จนกว่าศีลจะรักษาเรา หรือที่เรียกว่า อธิศีล

          โดยทุกวันเมื่อตื่นนอนมาแล้ว หลังจากล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำเรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งใจสมาทานศีล 5 แบบง่ายๆ พูดว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ศีลข้อ 1 ไม่ฆ่าสัตว์ ศีลข้อ 2 ไม่ลักทรัพย์ ศีลข้อ 3 ไม่ประพฤติผิดในกาม ศีลข้อ 4 ไม่มุสา ศีลข้อ 5 ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา บัดนี้ข้าพเจ้านางสาวจินตนา วงศ์ต๊ะ จะขอตั้งใจรักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัดบัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลแล้ว ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระอริยสังฆคุณ ขอท่านช่วยปกป้องคุ้มครองลูกให้พ้นจากวิบากเวรภัยทั้งหลายทั้งปวงสามารถรักษาศีล ปฏิบัติธรรม อย่างชาญฉลาด ตราบเท่าเข้าถึงมรรคผลนิพพานอย่างแท้จริงด้วยเทอญ โมทนาสาธุๆๆๆ

การบวชอยู่ที่บ้าน

การบวชอยู่ที่บ้าน 




บางคนจะสงสัยว่า บวชทำไมอยู่ที่บ้าน? มันก็พอจะตอบได้ว่า เราทำอย่างเดียวกัน ในวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายของคำว่า บวช แปลตามตัวหนังสือ ก็ว่า เว้นหมดจากที่ควรเว้น ก็คือ เว้นจากการปฏิบัติหรือการเป็นอยู่ชนิดที่เป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นไปเพื่อความทุกข์ เราจะเว้นเสียโดยเด็ดขาด; ไม่ทำในใจว่า อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด แต่ว่าโดยแท้จริงก็อยู่ที่บ้าน แต่ไม่ต้องทำในใจว่า อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด, ทำในใจแต่การประพฤติปฏิบัติ ให้ตรงตามความหมายนั้นเท่านั้น คือว่า เว้นหมดจากสิ่งที่ควรเว้น ในทุกๆระดับ.

หรือแม้ว่าเราจะอาศัยคำอีกคำหนึ่ง คือคำว่า พรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติประเสริฐ, ประพฤติอย่างพรหม ก็ไม่ได้จำกัดว่าที่บ้านหรือที่วัด ถ้าประพฤติได้ก็ประพฤติ; อย่างจะถือศีลพรหมจรรย์อยู่ที่บ้าน ศีล 8 ศีล 10 นั้นก็ยังถือได้ คำว่า พรหมจรรย์ นั้นมีความหมายว่า การประพฤติอย่างเต็มที่หรือเคร่งครัด ติดต่อกันเป็นระยะยาว เป็นการปฏิบัติตลอดชีวิต อย่างนี้ก็ยังได้ พูดกันง่ายๆ ว่า ประพฤติพรหมจรรย์ที่บ้าน มันก็ยังทำได้.

วิธีปฏิบัติธรรมอย่างง่าย ๆ

วิธีปฏิบัติธรรมอย่างง่าย ๆ



     ทำกายให้ผ่อนคลาย สบาย ๆ เข้าไว้ ผ่อนคลายร่างกาย อย่าเกร็ง ไม่ต้องเคร่งเครียด แล้วก็อย่าตั้งใจเกินไปให้หมั่นสังเกตที่กายให้ดี คือ เมื่อไหร่ที่กายผ่อนคลาย สบายดี ใจก็จะพลอยผ่อนคลายสบาย ๆ ไปด้วย ให้รักษาความสบายนั้นไว้ไม่ว่าจะทำการทำงานอะไร ให้หมั่นสังเกตและรักษาความสบายนั้นไว้เสมอๆ ถ้าจิตเกิดอาการเมื่อไหร่ร่างกายจะเกิดอาการเปลี่ยนแปลง เช่นเกร็ง มากบ้างน้อยบ้าง ลมหายใจจะเปลี่ยนแปลง การหายใจจะสะดุด หายใจได้ไม่คล่องตัวบ้าง เกิดอาการที่เรียกว่า หนักหัวอกนี่แหละที่ครูบาอาจารย์บางท่านเรียกว่า มีอารมณ์ใจหนัก ให้เราสังเกตตรงนี้บ่อย ๆ พยายามฝึกผ่อนคลายความตึงเครียดไว้เสมอ ๆ อารมณ์ใจจะได้ไม่หนักไปด้วย การผ่อนคลายอาจจะใช้วิธีการสูดลมหายใจ เข้าลึก ๆ ให้ทั่วท้อง แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกมาช้า ๆ ก็ได้ทำเช่นนี้สักสองสามเที่ยว เป็นการเรียกความรู้สึกตัวกลับมาอยู่กับกาย ไม่ให้หลงส่งจิตออกไปภายนอก ใจก็จะรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจมากขึ้น ทำให้ชำนาญจนเป็นนิสัยกายไม่เครียด จิตใจดี

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การบรรลุธรรม

การบรรลุธรรม



แนวทางที่พระพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ได้ทรงวางไว้ให้กับพุทธศาสนิกชนปฏิบัติ เพื่อความสุข ความเจริญ ความก้าวหน้า ทั้งในทางธรรมและทางโลกก็คือ แนวทางแห่งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ  เป็นธรรม ๓ ประการที่พุทธศาสนิกชนทุกๆคนพึงปฏิบัติ  ปริยัติ หมายถึง การศึกษาร่ำเรียนพระธรรมคำสอนต่างๆของพระพุทธเจ้า  ปฏิบัติ หมายถึงการนำเอาคำสั่งสอนที่ได้ศึกษาร่ำเรียนไปปฏิบัติกับตน ทางกาย วาจา ใจ  ปฏิเวธ หมายถึงการบรรลุธรรม คือผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ เป็นเป้าหมายที่สำคัญของการเข้าสู่พระศาสนา คือปฏิเวธ การบรรลุธรรมนั่นเอง เพราะการบรรลุธรรมนี้ ไม่มีอะไรจะดีเท่า ไม่มีอะไรจะประเสริฐเท่า  ผู้ที่บรรลุธรรมได้นั้น ย่อมเป็นผู้อยู่เหนือความทุกข์ อยู่เหนือความวุ่นวายใจ ท่ามกลางความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ท่ามกลางการพลัดพรากจากกัน

ผู้ที่ได้บรรลุถึงธรรมขั้นต่างๆแล้ว จิตย่อมไม่มีความว้าวุ่นขุ่นมัว ไม่มีความเศร้าโศกเสียใจ กับการที่จะต้องเผชิญกับสภาวธรรมที่เป็นปกติของโลก  คือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย การพลัดพรากจากกัน การจะบรรลุธรรมได้นั้นต้องอาศัยปริยัติเป็นเบื้องต้น คือการศึกษา ได้ยินได้ฟังอย่างที่ท่านทั้งหลายกำลังทำกันอยู่ในขณะนี้ คือการศึกษาฟังธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า  เมื่อได้ฟังแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติอีกทีหนึ่ง ถึงจะได้บรรลุธรรม  ถ้าไม่ศึกษาร่ำเรียนเสียก่อนแล้วไปปฏิบัติ ก็จะไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะจะหลงทาง  เหมือนกับคนที่จะเดินทางไปสู่ที่หนึ่ง แต่ไม่รู้ทิศทางของที่ตั้งของสถานที่ที่ต้องการจะไป ถ้าไม่มีแผนที่ หรือไม่มีผู้ที่เคยไปมาแล้วบอกทาง ย่อมไม่สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางนั้นได้